การบริหารจัดการความเสี่ยง

ภาพโดย engin akyurt จาก Pixabay

ภาพโดย engin akyurt จาก Pixabay

การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

วันนี้ด้วยความอารมณ์ที่ยังตุ่นๆ อยู่ ก็เลยอยากพูดเรื่องการบริหารความเสี่ยงซักหน่อย ถ้าพูดตามคำนิยามที่ค่อนข้างเป็นวิชาการของการบริหารจัดการความเสี่ยง ที่ประกอบด้วย “ความเสี่ยง” และ “โอกาส” นั่นก็คือ

ความเสี่ยง (Risk) คือ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบในเชิงลบ (Negative Effect) ซึ่งทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และสร้างความเสียหายให้กับองค์กร เช่น สินค้าไม่ได้คุณภาพ ลูกค้าไม่พอใจสินค้าและบริการ พนักงานทุจริต เป็นต้น

โอกาส (Opportunity) คือ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และมีผลกระทบในเชิงบวก (Positive Effect) ซึ่งผู้บริหารควรนำไปพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อนำไปปฏิบัติและให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

การสำคัญตนผิดของ Internal Auditor

การสำคัญตนผิดของ Internal Auditor
นับจากปี 2538 ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และภาวะเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก เช่น การปิดกิจการสาขา สิงคโปร์ ของธนาคารแบริ่ง ประเทศอังกฤษ เนื่องจากประสบผลขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาล และธนาคารไดวา ประเทศญี่ปุ่น สาขา USA ได้ถูกทางการสหรัฐอเมริกาสั่งปิดการดำเนินกิจการทั้งหมดใน USA เป็นต้น โดยสาเหตุที่พบคือ ผู้บริหารของสาขาธนาคารดังกล่าว กระทำการทุจริต
ต่อมาในปี 2540 เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศไทย เนื่องมาจากการโจมตีค่าเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ และนโยบายของรัฐบาลได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับสกุลเงินต่างประเทศอ่อนค่าลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องในทุกประเทศ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบทางการตลาดเงินและตลาดทุนอย่างรุนแรงมากที่สุด ทำให้รัฐบาลออกประกาศสั่งปิดธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ มากกว่า 56 แห่ง

อ่านเพิ่มเติม

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบภายใน

grid-book

วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับเรื่อง ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบภายในแล้วกันนะคะ

คนที่ทำงานส่วนมากพอเจอผู้ตรวจสอบภายใน แล้วมักจะมีความเข้าใจผิดๆ เสมอ ลองมาดูกันว่า ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบภายในมีอะไรกันบ้าง (พยายามจะ List ออกมาให้ได้เท่าที่จะนึกออก +.+)

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบภายใน

  1. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบรู้ทุกเรื่อง
  2. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบถูกเสมอ
  3. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบเก่งทุกเรื่อง
  4. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบไม่เคยทำงานผิด
  5. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบต้องใจเย็น มีเหตุผลตลอดเวลา
  6. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบสามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง
  7. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบ ชอบจับผิด !!!!
  8. เข้าใจผิดว่า ผู้ตรวจสอบ……….. (จงเติมคำในช่องว่าง -0-)

อ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Audit Program

 

จริงๆ นอกจากเป็นนักเขียนนิยายอิสระแล้ว งานประจำที่ทำอยู่ก็คือ งานตรวจสอบภายใน

อ๊ะๆ แต่ไม่ใช่งานตรวจสอบภายในของระบบ ISO นะคะ เป็น Internal Audit จริงๆ ที่ต้องทำงานตามขั้นตอนการตรวจสอบ คือ

  1. ศึกษาข้อมูลของระบบงานที่ต้องเข้าตรวจสอบ
  2. จัดทำ Audit Program ของระบบงานที่จะเข้าตรวจสอบ
  3. เข้าตรวจสอบระบบงานตามที่กำหนดไว้ใน Audit Program
  4. เขียนรายงานสิ่งที่ตรวจพบ ปัญหาที่พบ และเสนอแนะแนวทางแก้ไข
  5. ปิดงานตรวจสอบโดยประชุมร่วมกับผู้รับการตรวจสอบ

ซึ่งงานตรวจสอบภายใน เป็นงานที่ตรวจละเอียดมาก แต่ก็เป็นแค่การสุ่มตรวจเท่านั้น โอกาสที่จะไม่พบสิ่งที่เป็นปัญหาก็มี เพราะฉะนั้นเหล่า Auditor ทั้งหลายจึงมีเครื่องมืออีกอย่างมาช่วยเหลือก็คือ การบริหารความเสี่ยงนั่นเอง (แต่ขอเอาไว้เล่าคราวหน้าก็แล้วกันนะคะ ^^”)

วันนี้เรากะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Audit Program เสียหน่อย เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเหล่า Internal Auditor เลยก็ว่าได้ (คัมภีร์ก่อนเข้าตรวจสอบเลยล่ะ)

อ่านเพิ่มเติม